Skip to content

เทคนิคการออกแบบเว็บไซต์

เทคนิคการออกแบบเว็บให้ดูดี

 

ความเรียบง่าย
           ความเรียบง่ายหมายถึงการใช้จำนวน pixel ตามที่ต้องใช้เพื่อให้สื่อสารสิ่งที่ต้องการให้ได้และในการสื่อสารนั้นก็ ประกอบไปด้วย ข้อมูลหลัก hard data และ เนื้อหาที่ซ่อนอยู่ soft information

ตัวอย่างของข้อมูล

Hard data          – ข้อมูล สาระ เนื้อหาสำคัญที่ต้องการจะสื่อ เช่น ข่าว ราคาสินค้า ตารางเวลารถไฟ
Soft Information – ความรู้สึก บรรยกาศของหน้าเว็บ เปรียบเทียบได้กับความรู้สึกเมื่อแรกพบของผู้ชมที่มีต่อเว็บ
ว่าน่าไว้ใจแค่ไหน จะเหมาะสมกับผู้ใช้หรือไม่
เนื้อหาอยู่กึ่งกลาง
            จากที่เคยกล่าวถึงไปเมื่อบทความก่อนหน้านี้ evolution of css layout ว่าหน้าเว็บในปัจจุบันเริ่มถูกออกแบบให้มีเนื้อหาอยู่กึ่งกลาง ตอนนี้เราก็สรุปได้แล้วว่าการวางเนื้อหาไว้ตำแหน่งกลางหน้าเว็บนั้น เป็นหลักการออกแบบที่ดีของดีไซน์ยุค 2.0

ซึ่งเหตุผลก็คือ การวางเนื้อหาไว้กึ่งกลางหน้าเว็บนั้น สามารถแสดงถึงความเรียบง่าย และตรงไปตรงมาได้ และจากการที่เราใช้จำนวน pixel อย่างประหยัดทำให้เราไม่ถูกกดดัน ให้ยัดเยียดเนื้อหาจำนวนมาก ไว้ในพื้นที่เล็กๆ เราสามารถสื่อได้มากกว่าจากความเรียบง่าย และเหตุผลเดียวที่เราอาจจะไม่เลือก ที่จะออกแบบเนื้อให้อยู่กึ่งกลางหน้าเว็บ คือ กรณีที่เราต้องการยัดเนื้อหาไว้ในหน้าเว็บเยอะๆ อย่างเช่น หน้าเว็บของ web application

 

น้อยคอลัมน์
               เมื่อก่อนเราจะเห็นหลายๆ  เว็บแบ่งเนื้อหาในหน้าเว็บเป็น 3-4 คอลัมน์ แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้แค่ 2 คอลัมน์ หรืออย่างมากก็ 3 เข้าข่ายยิ่งน้อยยิ่งดี ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการที่จัดให้หน้าเว็บอยู่กึ่งกลางจอด้วย ทำให้เราไม่ต้องบรรจุเนื้อหาให้เต็มหน้าจอ และเราก็ไม่จำเป็นต้องใช้คอลัมน์จำนวนมากในการสื่อสาร แค่ใช้คอลัมน์ที่จำเป็น ที่ได้เลือกและคัดสรรค์มาแล้ว ทำให้เรียบง่ายกว่า ตรงไปตรงมา และสื่อสารได้มีประสิทธิภาพมากว่า

 

แยกส่วนหัวของหน้าเว็บอย่างชัดเจน
               หมายถึงการทำให้ส่วนหัวของหน้าเว็บซึ่งหมายถึงส่วนโลโก้และเมนู โดดเด่นขี้นมาจากส่วนอื่นๆ  เทคนิค นี้ไม่ใช่อะไรที่ใหม่ มีการประยุกต์ใช้มานานแล้ว เพราะเป็นเทคนิคที่ดี แต่ปัจจุบันมีการนำมาใช้มากขึ้นเป็นพิเศษ และได้มีการแบ่งสัดส่วนอย่างขัดเจนมากขึ้น
การแบ่งสัดส่วนหัวของหน้าเว็บไว้อย่างชัดเจนนั้นดีตรงที่ ได้แบ่งสัดส่วนให้แน่ชัดว่าส่วนไหนคือส่วนเริ่มของหน้าเว็บ ซึ่งเป็นการเน้นหลักการดีที่ต้องการแสดงเนื้อหาอย่างหนักแน่น เรียบง่ายและตรงไปตรงมา  และการแยก ส่วนหัวของหน้าเวปนั้นสามารถทำได้หลายวิธีเช่น ใช้สีที่โดดเด่นแตกต่างจากเนื้อหาที่เหลือดังเช่นตัวอย่างข้างต้น หรือจะใช้เส้นขีดแบ่งดังตัวอย่างต่อไปนี้ก็ได้

ส่วนต่างๆของหน้าเว็บประกอบไปด้วย

– เมนู
– พื้นหลัง
– เนื้อหา
– ส่วนอื่นๆ
– ลิงค์
การที่จะจัดกลุ่มแบ่งแยกส่วนต่างๆได้อย่างชัดเจนที่สุดคือการเล่นสี  แต่การใช้ช่องว่างก็สำคัญไม่แพ้กัน

ข้อควรระวัง  ของการเล่นสีคือ สีสรรคต่างๆจะดึงดูดความสนใจไปจากเนื้อหาที่สำคัญ ดังนั้นการวางเนื้อหาลงบนผืนผ้าใบที่ขาวสะอาดจะช่วยให้ผู้ชมรู้สึกผ่อนคลาย มากขึ้น

 

เมนูเรียบง่าย
           เมนูหลักของหน้าเว็บควรมีสักษณะโดดเด่น สังเกตุเห็นและมองออกได้ง่ายว่าเป็นเมนู โดยการใช้ font ที่หนาใหญ่สะอาดและชัดเจน รวมถึงลิงค์ต่างๆในเนื้อหาควรดูโดดเด่นแตกต่างจากเนื้อหาที่เหลือ  เพราะเราต้องการให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซด์ของเราบอกได้ว่าส่วนไหนเป็นเมนู เพื่อให้รับทราบถึงข้อมูลต่างๆว่า

– ตอนนี้อยู่ที่จุดไหนแล้ว
– สามารถไปที่ไหนได้อีก
– แสดงทางเลือกต่างๆให้ชัดเจน

เราสามารถทำให้เมนูดูโดดเด่นได้โดย
– แยกส่วนออกมาจากเนื้อหา
– ทำให้ดูแตกต่าง โดยใช้โทนสี และรูปร่าง
– ใช้ตัวใหญ่และหนา
– ใช้ภาษาที่ชัดเจนและเป็นสากลเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ลิงค์และเมนูดูโดดเด่นแตกต่างจากเนื้อหาส่วนที่ไม่ได้เป็นลิงค์
โลโก้ตัวหนา
           เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจนและหนักแน่น

คุณสมบัติของโลโก้

– แสดงออกให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน
– จำได้ง่ายและแตกต่าง
– เป็นตัวแทนภาพลักษณ์

ตัวอักษรตัวใหญ่
           การใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบกับเว็บสไตล์เก่าๆ การที่เราไม่ได้พยายามยัดเยียดเนื้อหาทำให้เรามีพื้นที่มากขึ้น และทำให้สามารถที่จะเลือกทำให้สิ่งสำคัญมีขนาดใหญ่กว่าสิ่งที่ไม่สำคัญ ซึ่งตัวอย่างการใช้งานที่ผ่านมาได้แก่การใช้ตัวอักษรใหญ่สำหรับหัวข้อต่างๆ

การใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ทำให้เราสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนสายตาสั้น ผู้อ่านที่อ่านผ่านๆ ผู้คนที่นั่งห่างไกลจากจอ หรือผู้ใช้จอ LCD ภายใต้แสงแดด

ถึง กระนั้นเราก็ควรมีเหตุผลในการกำหนดว่าส่วนไหน ควรจะใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ ให้ใช้เฉพาะกับส่วนที่สำคัญ เพื่อกำหนดความโดดเด่นหลังจากที่ได้เคลีย พื้นที่แล้ว ไม่ใช่สักแต่ว่าทำให้ดูใหญ่ไปหมด จะทำให้ดูรก และไม่ได้ผล ถ้าต้องการจุเนื้อหาที่มีความสำคัญพอๆกัน จำนวนมากควรคงขนาดตัวอักษรให้ตัวเล็กเท่าๆกัน

 

ตัวอักษรแนะนำตัวหนา
            เป็นการสื่อข้อความหลักของเนื้อหา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตัวอักษรกราฟฟิกมากกว่าตัวอักษรธรรมดา เนื่องจากนักออกแบบต้องการจะควบคุมสิ่งที่หน้าเว็บต้องการจะสื่ออย่างชัด เเจน

   *  แนะนำให้ใช้เมื่อเป็นสโลแกนหลักเท่านั้น

 

สีสันสดใส
           สีสันที่สดใสมีคุณสมบัติในการดึงดูดสายตา เราสามารถใช้สีที่ตัดกันแบ่งส่วนต่างๆของหน้าเว็บ หรือกำหนดให้ส่วนที่สำคัญดูโดดเด่นขึ้นมาได้  แต่ก็ควรระวังไม่ใช้สีสดเกินไปล้อมรอบเนื้อหา เพราะจะทำให้สายตาถูกดึงหนีไปจากเนื้อหาหลัก ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้

แล้ว ก็อย่าลืมว่าการที่จุดนึงในหน้าเว็บจะดึงดูดสายตาได้ด้วยสีสันที่สดใส สีในจุดอื่นๆก็ควรจะอ่อนลงตามความสำคัญ มิฉะนั้นจะทำให้หน้าเว็บดูสับสนและยุ่งเหยิง

 

มีลูกเล่นบนพื้นผิว
           ลูกเล่นต่างๆบนพื้นผิวไม่ว่าจะเป็นการเล่นแสงเงาหรือการไล่สีให้เป็นสามมิติ เล็กน้อย ทำให้ภาพกราฟฟิคต่างๆดูเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยและดูเสมือนวัตถุจริง ไม่ว่าจะเป็น คาร์บอนไฟเบอร์  หรือพลาสติกเงา

เทคนิคนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อเราทำให้หน้าเว็บมีส่วนที่เป็นสามมิติเพียง เล็กน้อยเพื่อเน้นความโดดเด่นเท่านั้น การทำให้ทุกอย่างเป็นสามมิติไปหมดนั้นไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะจะลดความเด่นของสิ่งที่เราต้องการที่จะเน้น และทำให้โหลดช้า

 

ไล่เฉดสี
          การไล่เฉดสีสามารถ สร้างมิติ และ กำหนดบรรยากาศของหน้าเว็บได้  มีการนำมาใช้ให้ดูเป็นเงา หรือนำมาใช้บนปุ่มเมนู

เงาสะท้อน  มีหลักๆอยู่ 2 แบบคือ

– เงาสะท้อนบนพื้นผิวของตัววัตถุเอง

– และเงาสะท้อนบนพื้นผิวที่วัตถุวางอยู่

หรือจะนำมาประยุกต์ใช้ให้วัตถุมีเงาสะท้อนบนกลับไป บนพื้นผิวของตัววัตถุเอง ก็จะได้ภาพกราฟฟิคที่น่าสนใจและสวยงาม

 

Icon น่ารัก
         ไอคอนต่างๆ  มีบทบาทมากขึ้นในดีไซน์  ปัจจุบันเราเลือกที่จะใช้ไอคอนจำนวนน้อยลง แต่มีความหมายมากขึ้น  การใช้ไอคอนจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมองออกได้ง่าย และสื่อสารความหมายได้อย่างชัดเจน

ในอดีตได้มีการใช้ไอคอนมากเกินไป เช่นใช้กับทุกเมนูที่มี ซึ่งปัจจุบันเรานิยมที่จะใช้ตัวอักษรที่สื่อความหมาย ได้อย่างชัดเจนกว่าและไม่ทำให้หน้าเว็บรกไปด้วยไอคอน  เราจะนำไอคอนมาใช้ในจุดที่สำคัญเท่านั้น

 

เทคนิคการตกแต่งเว็บไซต์

เทคนิคการตกแต่งหน้าแรกของเว็บไซต์ด้วย Slide article

 สมาชิก ReadyPlanet หลายท่าน มีการเลือกแสดงหน้าแรกของเว็บไซต์ (Intro Page) เพื่อเป็นหน้าต้อนรับก่อนเข้าสู่เว็บไซต์จริงของท่าน แต่อาจจะยังไม่ทราบว่าจะตกแต่งหน้าแรกอย่างไรให้น่าสนใจ  วันนี้ Tips & Tricks ขอนำเสนอเทคนิคการตกแต่งหน้าแรกของเว็บไซต์สำเร็จรูปด้วย Code Slide   จากเว็บไซต์ที่ให้บริการสไลด์โชว์คือ www.sanook.com  มาแนะนำ โดยมีขั้นตอนที่ไม่ยาก ดังนี้ค่ะ

1. เข้าเว็บไซต์ www.sanook.com และเริ่มตกแต่งสไลด์ตามขั้นตอน ดังนี้

     1.1  คลิกปุ่ม Browse เลือกรูปภาพที่ต้องการจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน
1.2  คลิกปุ่ม Submit จากนั้นรอระบบอัพโหลดรูปภาพ
1.3  ตกแต่ง Slide โดยจะมี Effect ต่าง ๆ ให้เลือกใช้ตามต้องการ
1.4  เมื่อตกแต่งเรียบร้อยแล้ว คลิก ยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน และ บันทึกเพื่อรับรหัส Code HTML แสดงภาพสไลด์ค่ะ

2. ที่หน้าเว็บเพจรับรหัสแสดงภาพสไลด์ ให้ท่าน Copy Code HTML ที่ปรากฎ ดังรูป (ในขั้นตอนนี้ ท่านสามารถบันทึกสไลด์เพื่อแก้ไขปรับปรุงในภายหลังด้วย My Widget ของ Sanook ได้ด้วยค่ะ)

3. วิธีการนำ Code Slide มาแสดงบนหน้าเว็บไซต์ของท่าน ให้ท่าน Log in เข้าส่วนสมาชิก จากนั้นที่เมนู “จัดการเว็บไซต์” คลิกเลือก “Intro Page ของเว็บไซต์”

4. เข้าสู่หน้า Intro page ของเว็บไซต์  ทำการตั้งค่าดังนี้

     4.1  ที่หัวข้อ Intro Page ของเว็บไซต์ ให้เลือกตั้งค่า “แสดงหน้า Intro Page”
4.2  คลิกแท็บ “รายละเอียด Intro Page”
4.3 คลิกเครื่องมือ   (Source)
4.4 จากนั้น วางโค้ด Slide ที่คัดลอกมาในช่องรายละเอียด (หากต้องการใส่ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม ให้คลิกเครื่องมือ Source อีกครั้ง และทำการใส่ข้อมูลตามต้องการ ดูรายละเอียด วิธีการตกแต่ง Intro Page ของเว็บไซต์ เพิ่มเติม คลิกที่นี่)
4.5  คลิก “ตกลง” เพื่อบันทึก

5. การแสดงผลหน้าแรกของเว็บไซต์ (Intro Page) ด้วย Slide


หมายเหตุ :

ท่านสามารถนำโค้ด Slide นี้ไปตกแต่งส่วนอื่น ๆ ของเว็บไซต์ นอกเหนือจากหน้า Intro Page เช่น รายละเอียดบทนำ  เนื้อหาของบทความ พื้นที่แบนเนอร์ หรือพื้นที่ด้านล่างของเว็บไซต์ เป็นต้น ได้ตามต้องการค่ะ

อย่างไรก็ตาม ReadyPlanet ไม่แนะนำให้นำ code จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เสถียรภาพของเว็บไซต์ไม่ดี หรือมี server อยู่ต่างประเทศ เนื่องจากการเปิดหน้าเว็บไซต์ของท่่าน จะขึ้นกับความเร็ว และเสถียรภาพของระบบของเว็บไซต์ที่ท่านนำ code มาติดตั้งด้วย เช่น หาก server ของ code ที่นำมาติดล่ม หรือโหลดช้า จะทำให้เว็บของท่านเปิดไม่ได้หรือโหลดช้าด้วย
หากพบปัญหาเกิดขึ้น วิธีการแก้ไขคือ เข้าไปลบ code ต่าง ๆ เหล่่านี้ออก เว็บไซต์ของท่านก็จะทำงานได้ตามปกติ

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

1110061212443058_1201270665059
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติเป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำและจัดพิมพ์ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ โดยได้รวบรวมคัมภีร์แพทย์ ครั้ง ร.ศ.๑๒๖ และ ร.ศ.๑๒๘ ซึ่งได้ตรวจสอบรับรองโดยคณะแพทย์หลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จำนวน ๑๔ คัมภีร์ เผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป ได้แก่
·         คัมภีร์ฉันทศาสตร์ กล่าวถึงจรรยาของแพทย์ทับ ๘ ประการ-โรคทราง-สมุฏฐานแห่งไข้-อติสารมรนญาณสูตร
·         พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ กล่าวถึงพรหมปุโรหิตแรกปฐมกาล-การปฏิสนธิแห่งทารก-กำเนิดโลหิตระดูสตรีครรภ์ทวานกำเนิดโรคกุมารและยารักษาฯ
·         พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ กล่าวถึงความพิการของธาตุทั้ง ๔
·         พระคัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัต) กล่าวถึงสรรพคุณของสมุนไพรที่มีคุณค่าทางยาหรือเภสัช
·         พระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย กล่าวถึงความรู้ในการวินิจฉัยโรค
·         พระคัมภีร์วรโยคสาร กล่าวถึงองค์แห่งแพทย์ ๓๐ ประการฯ
·         พระคัมภีร์มหาโชตรัต กล่าวถึงโรคสตรี
·         พระคัมภีร์ชวดาร กล่าวถึงโรคลมและโรคเลือด
·         พระคัมภีร์โรคนิทาน กล่าวถึงเหตุและสมมุติฐานของโรค
·         พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงเหตุที่ธาตุสี่ไม่ปกติและการแก้ไข
·         พระภัมภีร์ธาตุบรรจบ กล่าวถึงโรคอุจจาระธาตุฯ
·         พระคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา กล่าวถึงโรคบุรุษสตรี
·         พระคัมภีร์ตักกะศิลา กล่าวถึงโรคระบาดอย่างร้ายแรง ไข้พิษทั้งปวงฯ
·         พระคัมภีร์ไกษย กล่าวถึงโรคที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมไม่แข็งแรง
ศัพท์ภาษาไทยว่า “แพทย์” มาจากศัพท์สันสกฤต “ไวทย” แปลว่า ผู้รู้พระเวท หมายถึงผู้รู้วิชาการต่างๆ ที่ประมวลอยู่ในคัมภีร์พระเวท (คัมภีร์พระเวทฉบับหนึ่งคือ อถรรพเวท เป็นต้นกำเนิดของตำราการแพทย์ และการรักษาโรคด้วยสมุนไพร) และผู้รู้วิชาการรักษาโรค เป็นที่นับถือยกย่องและมีบทบาทมากในสังคม ต่อมาคำว่า “ไวทย” จึงมีความหมายเจาะจงหมายถึงผู้รู้วิชาการรักษาโรค
ตำราแพทย์ของไทยที่มีมาแต่โบราณ มีร่องรอยของอิทธิพลความเชื่อ และหลักปฏิบัติต่างๆ ที่ปรากฏในตำราแพทย์ของอินเดีย ดังจะเห็นได้จาก คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เป็นตัวอย่าง
ในความหมายกว้าง “ฉันทศาสตร์” คงจะหมายถึงตำราแพทย์โดยรวม
ผู้เรียบเรียงให้ความสำคัญแก่ “พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์” ว่ามีเนื้อหาเป็นหลักของตำราแพทย์ทั้งหมด “ฉันทศาสตร์” จึงมีความหมายครอบคลุมตำราต่างๆ เช่น “ปฐมจินดาร์ โรคนิทาน อภัยสันตา ตักกะศิลา” เป็นต้น
ส่วนในความหมายแคบ “ฉันทศาสตร์” เป็นชื่อตำราฉบับหนึ่ง เช่นเดียวกับตำราอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว พิจารณาจากบทไหว้ครู และเนื้อหาที่สอนจรรยาแพทย์ และข้อควรปฏิบัติสำหรับแพทย์ น่าจะนับได้ว่าเป็นตำราฉบับแรกในหนังสือชุดแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ในความนำนี้จะกล่าวถึง “ฉันทศาสตร์” ตามความหมายแคบนี้
ในวรรณกรรมอินเดียโบราณ คำประพันธ์สั้นๆ ที่ผูกขึ้นมาเพื่อใช้ท่องจำ ข้อความรู้ต่างๆ ในคัมภีร์พระเวท เรียกว่า “สูตร” เฉพาะ สูตร ในคัมภีร์อถรรพเวท (ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของตำราการแพทย์อินเดีย) เรียกได้อีกอย่างว่า “ฉันท์” (Monier-Williams. 1984:405) ชื่อ “ฉันทศาสตร์” จึงน่าจะมีความหมายว่า ตำรา (ศาสตร์) ที่แต่งเป็นสูตร (ฉันท์) ตามอย่างตำราการแพทย์ในคัมภีร์อถรรพเวท และด้วยเหตุที่คัมภีร์อถรรพเวท มีเรื่องราวส่วนใหญ่เกี่ยวกับไสยศาสตร์ด้วย จึงมักเรียกกันว่า “คัมภีร์ไสย์” ดังปรากฏในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ที่กล่าวถึงอยู่หลายครั้ง

คำขวัญประจำจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด

 

 

d ประเทศไทยของเรา มีจังหวัดเพิ่มขึ้นเป็น 77 จังหวัดแล้ว และยังมีเป้าหมายจะเปลี่ยนสถานะอำเภอใหญ่ ๆ หลายอำเภอให้กลายเป็นจังหวัดกะเขาด้วย คำขวัญประจำจังหวัดจึงเป็นส่วนสำคัญที่มีไว้เพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์และสถานที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัดได้ ถึงแม้หลายคนจะจำคำขวัญประจำจังหวัดของตัวเองได้อยู่แล้ว แต่คำขวัญจังหวัดอื่น ๆ ก็น่าสนใจเหมือนกันนะจ๊ะ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงมีคำขวัญประจำ 77 จังหวัด มาฝากกัน ว่าแต่ละจังหวัดนั้นมีเอกลักษณ์สำคัญอะไรบ้าง ไปดูกันเลยจ้า

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย ก.

1. กรุงเทพมหานคร

กรุง​เทพฯ ดุจ​เทพสร้าง เมืองศูนย์กลาง​การปกครอง วัด วัง งาม​เรืองรอง เมืองหลวงของประ​เทศ​ไทย

 

2. กระบี่

ถิ่นหอยเก่า เขาตระหง่าน ธารสวย รวยเกาะ เพาะปลูกปาล์ม งามหาดทราย ใต้ทะเลสวยสด มรกตอันดามัน

3. กาญจนบุรี

แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่ น้ำตก

4. กาฬสินธุ
เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี

5. กำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก

 

จังหวัดที่ขึ้นต้น ข.

6. ขอนแก่น

พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย จ.

7. จันทบุรี

น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย ฉ.

8. ฉะเชิงเทรา

แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย อ่างฤาไนป่าสมบูรณ์

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย ช.

 9. ชลบุรี

ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย

 10. ชัยนาท

หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา

11. ชัยภูมิ

ชัยภูมิทิวทัศน์สวย รวยป่าใหญ่ มีช้างหลาย ดอกไม้งาม ลือนามวีรบุรุษ สุดยอดผ้าไหม พระใหญ่ทราวดี

12. ชุมพร

ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก

13. เชียงราย

เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง

14. เชียงใหม่

ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย ต.

15. ตรัง

เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา

16.ตราด

เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีที่เกาะช้าง สุดทางบูรพา

17. ตาก

ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย น.

18. นครนายก

เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขางาม น้ำตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ

19. นครปฐม

ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า

20. นครพนม

พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูผู้ไท เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง

21. นครราชสีมา

เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน

22. นครศรีธรรมราช

เราชาวนคร อยู่เมืองพระ มั่นอยู่ในสัจจะ ศีลธรรม กอรปกรรมดี  มีมานะพากเพียร ไม่เบียดเบียน ทำอันตรายผู้ใด

 

23. นครสวรรค์

เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ

24. นนทบุรี

พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา วัดเก่านามละบือ เลื่องลือทุเรียนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ

25. นราธิวาส

ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา ปาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน

26. น่าน

แข่งเรือลือเลื่อง  เมืองงาช้างดำ  จิตรกรรมวัดภูมินทร์  แดนดินส้มสีทอง  เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย บ.

27. บึงกาฬ

ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ำยางพารา งามตาแก่งอาฮง บึงโขงหลงเพลินใจ น้ำตกใสเจ็ดสี ประเพณีแข่งเรือ เหนือสุดแดนอีสาน นมัสการองค์พระใหญ่

28. บุรีรัมย์

เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย ป.

29. ปทุมธานี

ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

30. ประจวบคีรีขันธ์

เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสัปปะรด สวยสดหาดเขาถ้ำ งามล้ำน้ำใจ

31. ปราจีนบุรี

ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี

32. ปัตตานี

เมืองงามสามวัฒนธรรม  ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ  ชนน้อมนำศรัทธา  ถิ่นธรรมชาติงามตา  ปัตตานีสันติสุขแดนใต้

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย พ.

33. พระนครศรีอยุธา

ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา

34. พังงา

แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ทรัพยากร

35. พัทลุง

เมืองหนังโนรา อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน

36. พิจิตร

ถิ่นประสูติพระเจ้าสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวจ้าวอร่อยลือเรื่อง ตำนานเมืองชาละวัน

37. พิษณุโลก

พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา

38. เพชรบุรี

เขาวังคู่บ้าน ขนมหวาน เมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม

39. เพชรบูรณ์

เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง

40. แพร่

หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม

41. พะเยา

กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย ภ.

42. ภูเก็ต

ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย ม.

43. มหาสารคาม

พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร

44. มุกดาหาร

หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบ แก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน

45. แม่ฮ่องสอน

หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย ย.

46. ยะลา

ยะลา ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน

47. ยโสธร

เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย ร.

48. ร้อยเอ็ด

สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกตุ บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล งามหน้ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ

49. ระยอง

ผลไม้รสล้ำ อุตสาหกรรมก้าวหน้า น้ำปลารสเด็ด เกาะเสม็ดสวยหรู สุนทรภู่กวีเอก

50. ระนอง

คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง

51. ราชบุรี

คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย ล.

52. ลพบุรี

วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์

53. ลำปาง

ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก

54. ลำพูน

พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวี ศรีหริภุญชัย

55. เลย

เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย ศ.

56. ศรีสะเกษ

หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม ข้าว หอม กระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย ส.

57. สกลนคร

พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวกูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม

58. สงขลา

นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้

59. สตูล

สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์

60. สมุทรปราการ

ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม

61. สมุทรสงคราม

เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม

62. สมุทรสาคร

เมืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร เขตประวัติศาตร์

63. สระแก้ว

ชายแดนเบื้องบูรพา ป่างาม น้ำตกสวย มากด้วยรอยอารยธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย – เขมร

64. สระบุรี

พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ฐานผลิตอุตสาหกรรม เกษตรนำล้ำแหล่งท่องเที่ยว หนึ่งเดียวกะหรี่ปั๊บนมดี ประเพณีตักบาตรดอกไม้งาม เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง

65. สิงห์บุรี

ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี

66. สุโขทัย

มรดกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง มั่นคงพระพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข

67. สุพรรณบุรี

เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง

68. สุราษฎร์ธานี

เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ

69. สุรินทร์

สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย ห.

70. หนองคาย

วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว

71. หนองบัวลำภู

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน

 

จังหวัดที่ขึ้นต้นด้วย อ.

72. อุบลราชธานี

อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชถ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล

73. อุดรธานี

น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรม 5,000 ปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรชันไฌน์

74.อ่างทอง

พระสมเด็จเกษไชไย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน

75. อุทัยธานี

อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ

76. อุตรดิตถ์

เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก

77. อำนาจเจริญ

พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม

เขาพระวิหาร

SKD1000.2.tif

กลายเป็นประเด็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ให้พูดถึงไม่รู้จบจริงๆ สำหรับ “เขาพระวิหาร” หรือ “ปราสาทเขาพระวิหาร” จนทำให้หลายๆ คนอยากรู้ประวัติ ว่า “เขาพระวิหาร” แห่งนี้มีความเป็นมาอย่างไร และกำลังกลายเป็นว่าที่มรดกโลกได้อย่างไร…? แล้วไทยกับกัมพูชามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับประวัติศาสตร์เขาพระวิหารแห่งนี้…วันนี้เรามีคำตอบมาเฉลยค่ะ และจะพาย้อนตำนานไปศึกษาประวัติเขาพระวิหารกัน … อย่ารอช้ารีบตามเข้ามาเลยค่ะ

เขาพระวิหาร หรือที่หลายๆ คนรู้จักในนาม “ปราสาทเขาพระวิหาร” (Prasat Preah Vihear) และที่ประเทศกัมพูชาเรียกขานว่า “เปรี๊ยะวิเฮียร์” เป็นปราสาทหินตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ในพื้นที่ทับซ้อนชายแดนไทย-กัมพูชา ระหว่างบ้านสรายจร็อม อำเภอจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร ของประเทศกัมพูชา และบ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ใกล้ๆ กับอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร

เขาพระวิหาร เป็นบริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนพื้นเมืองสมัยก่อน ในกษัตริย์ชัยวรมันที่ 2 ได้กำหนดเขตบริเวณนี้และเรียกชื่อว่า “ภวาลัย” ภายหลังปรากฏชื่อในจารึกภาษาสันสกฤตว่า “ศรีศิขรีศวร” หมายความว่า “ผู้เป็นใหญ่แห่งภูเขาอันประเสริฐ” ตั้งอยู่บนยอดเขาในเทือกเขาพนมดงรัก ตามแนวเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา จากหลักฐานต่างๆ คาดว่าสร้างในปี พ.ศ.1432-1443 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เพื่อใช้เป็นสถานที่สักการะตามความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ โดยสมมติให้เปรียบเสมือน “เขาพระสุเมรุ” (ศูนย์กลางของจักรวาล) โดยการสร้างนั้นก็มีเหตุผลในการรวบรวมอำนาจและความเชื่อของคนในละแวกนั้นเข้าด้วยกัน เพราะในอดีตแถบนั้นมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่รวมกัน พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 จึงโปรดให้สร้างเขาพระวิหารขึ้น เพื่อเป็นจุดยึดเหนี่ยวและศูนย์รวมจิตใจของ ชาวบ้านซึ่งจะทำให้การปกครองง่ายขึ้นด้วย

ปราสาทเขาพระวิหาร 

“ปราสาทเขาพระวิหาร” หรือ “ปราสาทพระวิหาร” เป็นโบราณสถานที่มีความงดงาม โดดเด่นอยู่เหนือเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นพรมแดน ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชามีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 657 เมตร ปราสาทเขาพระวิหารเป็นเสมือนเทพสถิตย์บนขุนเขาหรือ “ศรีศิขเรศร” เป็น “เพชรยอดมงกุฎ” ขององค์ศิวะเทพ (พระอิศวร) ตั้งโดดเด่นอยู่บนยอดเทือกเขาพนมดงรัก มีความยาว 800 เมตร ตามแนวเหนือใต้ ส่วนใหญ่เป็นทางเข้ายาวและบันไดสูงถึงยอดเขา จนถึงส่วนปราสาทประธาน ซึ่งอยู่ที่ยอดเขาทางใต้สุดของปราสาท (สูง 120 เมตรจากปลายตอนเหนือสุดของปราสาท, 525 เมตรจากพื้นราบของกัมพูชา และ 657 เมตรจากระดับ)

ปราสาทเขาพระวิหารประกอบด้วยหมู่เทวาลัยและปราสาทหินจำนวนมาก ทั้งหมดสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ ซึ่งเทวาลัยหรือปราสาทหินแห่งแรกสร้างขึ้น เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซากปรักหักพังของเทวาลัยที่เหลืออยู่ มีอายุตั้งแต่สมัยเกาะแกร์ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ครั้น และปราสาทเขาพระวิหารเป็นสถาปัตยกรรมอันน่าทึ่ง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพชนของ “ขะแมร์กัมพูชา” (ขอม) แต่โบราณ ที่อาศัยอยู่ทั้งในกัมพูชาปัจจุบัน และในภาคอีสานของเรา ขะแมร์กัมพูชา เป็นชนชาติที่มีความสามารถยิ่งในการสร้าง “ปราสาท” ด้วยหินทรายและศิลาแลง ซึ่งขะแมร์กัมพูชาก่อสร้างปราสาทบนเขาพระวิหารติดต่อกันมายาวหลายรัชสมัย กว่า 300 ปี ตั้งแต่กษัตริย์ “ยโสวรมันที่ 1” ถึง “สุริยวรมันที่ 1” เรื่อยมาจน “ชัยวรมันที่ 5-6” จนกระทั่งท้ายสุด “สุริยวรมันที่ 2” และ “ชัยวรมันที่ 7” จากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 (หรือจากพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 18 หรือก่อนสมัยสุโขทัย 300 ปีนั่นเอง)

ทางเข้าสู่ปราสาทประธานนั้น มีโคปุระ (ซุ้มประตู) คั่นอยู่ 5 ชั้น (โคปุระชั้นที่ 5 จึงเป็นส่วนที่ผู้เข้าชมจะพบเป็นส่วนแรก) โคปุระแต่ละชั้นก่อนถึงลานด้านหน้าจะผ่านบันไดหลายขั้น โคปุระแต่ละชั้นจึงเปลี่ยนระดับความสูงทีละช่วง นอกจากนี้โคปะรุยังบังมิให้ผู้ชมเห็นส่วนถัดไปของปราสาท จนกว่าจะผ่านทะลุแต่ละช่วงไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถแลเห็นโครงสร้างปราสาททั้งหมดจากมุมใดมุมหนึ่งได้

เดิมทีปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตการปกครองของประเทศไทย ขึ้นอยู่กับบ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ (ค.ศ.1899, ร.ศ.-118) และเมื่อ พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เสด็จไปยังปราสาทแห่งนี้ และทรงขนานนามว่า “ปราสาทพรหมวิหาร” ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า “ปราสาทพระวิหาร” ซึ่งพระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า 118 สรรพสิทธิ

ต่อมาเมื่อปี 2450 จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส (ปกครองเขมรขณะนั้น) อาศัยแสนยานุภาพทางทหารบีบให้รัฐบาลสยาม (ไทย) ยอมเขียนแผนที่กำหนดให้เขาพระวิหารอยู่ในดินแดนของกัมพูชา ในการทำสนธิสัญญาเพิ่มเติม รัฐบาลสยามก็ยอมรับแผนที่ที่ฝรั่งเศษสร้างขึ้นมาแต่โดยดีโดยมิได้ทักท้วง (ซึ่งแต่เดิมถ้าแบ่งตามสันปันน้ำเทือกเขาพนมดงรัก เขาพระวิหารจะอยู่ในฝั่งไทยแต่พอแบ่งตามแผนที่ใหม่ของปี 1907จะอยู่ในฝั่งกัมพูชา) อาจจะเป็นเพราะฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจอยู่ในขณะนั้น และคนไทยก็ยังสามารถเข้าไปยังปราสาทเขาพระวิหารได้โดยง่าย

ทั้งๆ ที่ไม่ว่าจะตามสนธิสัญญาเดิม พ.ศ.2447 หรือตามสภาพภูมิศาสตร์ กำหนดให้อยู่ในดินแดนของไทยอย่างชัดเจน จนวันที่ 6 ตุลาคม 2502 รัฐบาลเจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชา ภายใต้การหนุนหลังของฝรั่งเศส ได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก ขอให้ไทยถอนกองกำลังทหารออกจากเขาพระวิหาร และขอให้ศาลชี้ขาดว่าอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารคืน (ยื่นฟ้องทั้งหมด 73 ครั้ง) ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ศาลโลกได้ตัดสินให้อธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชา ด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 เสียง โดยบริเวณดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่

ลักษณะสำคัญของปราสาทเขาพระวิหารจะประกอบด้วย… 

1. บันไดดินด้านหน้าของปราสาท ซึ่งบันไดดินด้านหน้าเป็นทางเดินขึ้นลงขนาดใหญ่ อยู่ทางทิศเหนือของตัวปราสาท ลาดตามไหล่เขา บางชั้นสกัดหินลงไปในภูเขา มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 75.50 เมตร มีจำนวน162 ขั้น สองข้างบันไดมีฐานสี่เหลี่ยมตั้งเป็นกระพัก (กระพักแปลว่า ไหล่เขาเป็นชั้นพอพักได้) ขนาดใหญ่เรียงรายขึ้นไป ใช้สำหรับตั้งรูปสิงห์ทวาร-บาล (ทะ-วา-ละ-บาน) เพื่อเฝ้าดูแลรักษาเส้นทาง

2. สะพานนาคราช หรือ ลานนาคราช อยู่ทางทิศใต้ของบันไดหินด้านหน้า ปูด้วยแผ่นหินเรียบ มีขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 31.80 เมตร สองข้างสะพานนาคราชสร้างเป็นฐานเตี้ยๆ บนฐานมีนาคราช 7 เศียร จำนวน 2 ตัว แผ่พังพานหันหน้าไปทางทิศเหนือ ลำตัวอยู่บนฐานทั้งสอง ทอดไปทางทิศใต้ ส่วนหางของนาคราชชูขึ้นเล็กน้อย นาคราชทั้งสองตัวเป็นนาคราชที่ยังไม่มีรัศมีเข้ามา ประกอบมีลักษณะคล้ายๆ งูตามธรรมชาติ เป็นลักษณะของนาคราชในศิลปะขอม แบบปาปวน
3. โคปุระ (ซุ้มประตู)ชั้นที่ 5 จะมีภาพวาดโดยปามังติเอร์อยู่ สร้างเป็นศาลาจตุรมุข รูปทรงกากบาทไม่มีฝาผนังกั้น มีแต่บันไดและซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ สร้างอยู่บนฐานบัวสี่เหลี่ยมย่อมุม ฐานสูง 1.8 เมตร บันไดหน้าประตูซุ้มทั้ง 4 ทิศตั้งรูปสิงห์นั่ง เสาโคปุระสูง 3.5 เมตร เป็นศิลปะแบบเกาะแกร์ ยังมีร่องรอยสีแดงที่เคยประดับตกแต่งตัวปราสาทเอาไว้ แต่ส่วนหลังคากระเบื้องนั้นหายไปหมดแล้ว บันไดทางขึ้นโคปุระ ชั้นที่ 5 อยู่ทางทิศเหนือ เป็นบันไดหินมีลักษณะค่อนข้างชัน ทางทิศตะวันออกของโคปุระชั้นที่ 5 มีเส้นทางขึ้นคล้ายบันไดหน้าแต่ค่อนข้างชัน และชำรุดหลายตอน ยาว 340 เมตรถึงไหล่เขา

4. โคปุระ (ซุ้มประตู)ชั้นที่ 4(ปราสาทหลังที่ 2) จะภาพของการกวนเกษียณสมุทร ณ เขาพระวิหาร ถือเป็น “หนึ่งในผลงานชิ้นเอกอุของปราสาทเขาพระวิหาร” ทับหลังเป็นภาพของพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่เหนืออนันตนาคราช ซึ่งทางดำเนินจากโคปุระ ชั้นที่ 5 มาเป็นลานหินกว้างประมาณ 7 เมตร สองข้างจะมีเสานางเรียงตั้งอยู่ทั้งสองด้าน แต่ก็มีปรักหักพังไปมาก โคปุระชั้นที่ 4 สร้างเป็นศาลาจตุรมุข มีกำแพงด้านทิศใต้เพียงด้านเดียว ยาว 39 เมตรจากตะวันออกไปตะวันตก กว้าง 29.5 เมตร จากเหนือไปใต้ เป็นศิลปะสมัยหลังโคปุระ ชั้นที่ 5 คือ แคลง/บาปวน ด้านนอกตั้งรูปสิงห์ หน้าบันเป็นภาพของการกวนเกษียณสมุทร

5. โคปุระ (ซุ้มประตู) ชั้นที่ 3 (ปราสาทหลังที่ 1) เป็นโคปุระหลังที่ใหญ่โตมโหฬารที่ยังสมบูรณ์ที่สุด ลักษณะการสร้างคล้ายกับ โคปุระ ชั้นที่ 1 และ 2 แต่ผิดตรงที่มีฝาผนังกั้นล้อมรอบความใหญ่โตมากกว่า และขนาบด้วยห้องสองห้อง ตัวปราสาทประธานนั้นสามารถผ่านเข้าไปทางลานด้านหน้า บันไดกว้าง 3.6 เมตร สูง 6 เมตร สองข้างมีฐานตั้งรูปสิงห์นั่ง 5 กระพัก มุขเหนือหน้าบันเป็นรูปพระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะ ทับหลังเป็นรูปพระนารายณ์ 4 กรทรงครุฑ และจากโคปุระชั้นที่ 3 มีบันได 7 ขั้นขึ้นไปสู่ถนนที่ยาว 34 เมตร มีเสานางเรียงปักรายข้างถนน ข้างละ 9 ต้น ถัดจากเสานางเรียงไปเป็นสะพานนาค 7 เศียร

6. โคปุระ (ซุ้มประตู) ชั้นที่ 2 สร้างเป็นศาลาจตุรมุข มีกำแพงด้านทิศใต้เพียงด้านเดียวอยู่บนไหล่เขาทางทิศเหนือของโคปุระชั้นที่ 2 บริเวณพื้นราบของเส้นทางดำเนินและสองข้างทางขึ้นลงของบันได จะพบรอยสกัดลงในพื้นศิลามีลักษณะเป็นหลุมกลมๆ สำหรับใส่เสาเพื่อทำเป็นปะรำพิธี โดยมีประธานในพิธีนั่งอยู่ในปะรำพิธีเพื่อดูการร่ายรำบนเส้นทางดำเนิน กรอบประตูห้องมีจารึกอักษรขอมระบุบปีศักราชตกอยู่ในสมัยพระเจ้าสุรยวรมันที่ 1 ด้านหน้ามนเทียรมีบันไดตรงกับประตูซุ้มทั้ง 3 ประตู และมีชานต่อไปยังเฉลียงซ้ายและขวา ที่สนามด้านหน้ามีภาพจำหลักตกหล่นอยู่หลายชิ้น เช่น รูปกษัตริย์กำลังหลั่งน้ำทักษิโณฑกแก่พราหมณ์

7. โคปุระ (ซุ้มประตู) ชั้นที่ 1 สร้างเป็นศาลาจตุรมุข รูปทรงกากบาทไม่มีฝาผนังกั้น มีแต่บันไดและซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ สร้างอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม-ย่อมุม บันไดทางขึ้นโคปุระ ชั้นที่ 1 ทางทิศเหนือ เป็นบันไดหินมีลักษณะค่อนข้างชัน เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าการที่จะเข้าเฝ้าเทพนั้น จะไปด้วยอาการเคารพนพนอบในลักษณะหมอบคลานเข้าไป ทางทิศตะวันออกมีเส้นทางขึ้นคล้ายบันไดหน้าแต่ค่อนข้างชัน และชำรุดหลายตอนเป็นเส้นทางขึ้นลง ไปสู่ประเทศกัมพูชา เรียกว่า “ช่องบันไดหัก”

8. สระสรง จะอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางดำเนินห่างออกไป 12.40 เมตร จะพบสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 16.8 เมตร ยาว 37.80 เมตร กรุด้วยท่อนหินเป็นชั้นๆ มีลักษณะเป็นขั้นบันได เรียกว่าสระสรงกล่าวกันว่าใช้สำหรับเป็นที่ชำระร่างกายก่อนที่จะกระทำพิธีทางศาสนา

9. เป้ยตาดี เป้ยเป็นภาษาเขมร ซึ่งแปลว่า ชะง่อนผาหรือโพงผา ตามคำบอกเล่าว่านานมาแล้วมีพระภิกษุชรารูปหนึ่งชื่อ “ดี” จาริกมาปลูกเพิงพำนักอยู่ที่นี่จนมรณภาพไป ชาวบ้านจึงเรียกลานหินนี้ว่า “เป้ยตาดี” ซึ่งบริเวณตรงยอดเป้ยตาดีสูงกว่าระดับน้ำทะเล 657 เมตร ถ้าวัดจากพื้นที่เชิงเขาพื้นราบฝั่งประเทศกัมพูชาสูงประมาณ 447 เมตร ตรงชะง่อนผาเป้ยตาดี จะมีรอยสักพระหัตย์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ว่า 118-สรรพสิทธิ แต่ก่อนมีธงไตรรงค์ของไทยอยู่ที่บริเวณผาเป้ยตาดี ในปัจจุบันคงเหลือแต่ฐานไตรรงค์

ปราสาทเขาพระวิหารนับได้ว่าเป็นปราสาทขอมที่สำคัญแห่งหนึ่ง ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์การก่อสร้างเทวสถานของฮินดู และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งของไทยและกัมพูชาอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร มีเนื้อที่ 81,250 ไร่ และได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2541 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทย

ประวัติ พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์

images

ชีวิตช่วงต้น

พงษ์สิทธิ์เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ที่ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มีชื่อเล่นว่า “ปู” โดยมีพ่อเป็นผู้ช่วยแพทย์ในโรงพยาบาล ที่อยู่ใกล้บ้าน พงษ์สิทธิ์เรียนหนังสือจบจากภาคอีสานที่บ้าน ก็เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร ด้วยความตั้งใจที่จะเป็นนักดนตรี โดยมีนักดนตรีที่นับถือและชื่นชอบใน 2 คน คือ หงา คาราวาน (สุรชัย จันทิมาธร) และ เล็ก คาราบาว (ปรีชา ชนะภัย) ในระยะแรกได้ร่วมงานกับคาราวานโดยเป็นนักดนตรีในวง จนในที่สุดก็ได้ออกอัลบั้มชุดแรกในปี พ.ศ. 2530 ชื่อชุด “ถึงเพื่อน” กับบริษัทบัฟฟาโล เฮด ที่มีสมาชิกของวงดนตรีคาราบาว เป็นผู้ดูแล งานชุดนี้ไม่ถือว่าประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก แต่ก็มีเพลงฮิตอย่าง ถึงเพื่อน… ที่ถูกเปิดให้ได้ยินกันบ่อย ๆ ในยุคนั้น

ตำนานเพลงเพื่อชีวิตรุ่นที่ 3

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เริ่มเป็นที่รู้จักในปี พ.ศ. 2533 จากเพลง ตลอดเวลา ในอัลบั้ม “เสือตัวที่ 11” ซึ่งออกกับค่ายรถไฟดนตรี พร้อมทั้งได้ทำเพลงประกอบละคร ตะวันชิงพลบ ซึ่งได้มีโอกาสที่จะนำเพลงดังกล่าวไปบรรจุรวมอยู่ในอัลบั้ม “บันทึกการเดินทาง” ด้วยแต่ติดอยู่ตรงที่ปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์เพลง จึงจำเป็นต้องถอดออกภายหลัง แต่พงษ์สิทธิ์ ได้นำเพลง โรงเรียนของหนู มาใส่ไว้แทน และเป็นอัลบั้มที่แฟนเพลงรู้จักมากขึ้นหลังจากออกวางจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็น คิดถึง, โรงเรียนของหนู, เธอ…ผู้เสียสละ, ไทรโศก, แม่ เป็นต้น

พงษ์สิทธิ์มีชื่อเล่นว่า “ปู” แต่บางครั้งแฟนเพลงจะนิยมเขาว่า “คำภีร์” ตามชื่อนามสกุลที่เจ้าตัวเรียกตัวเองในแต่ละอัลบั้ม โดยในปี พ.ศ. 2535 พงษ์สิทธิ์ก็ออกอัลบั้มชุด “มาตามสัญญา” มีเพลงที่เป็นที่รู้จักกันคือสุดใจไถ่เธอคืนมา และ มาตามสัญญา ที่ได้มีโอกาสร่วมร้องกับเล็ก คาราบาว ศิลปินรุ่นพี่ที่ชื่นชอบอีกด้วย โดยช่วงปีนั้น พงษ์สิทธิ์ได้รับความนิยมสูงสุด จนได้รับฉายาว่า “ตำนานเพลงเพื่อชีวิตรุ่นที่ 3” (ต่อจาก คาราวานและ คาราบาว) หรือ “เจ้าพ่อเพลงรักเพื่อชีวิต”

หน้าปกอัลบั้ม ปลั๊กหลุด อัลบั้มอะคูสสติกที่ออกร่วมกับ เล็ก คาราบาว (พ.ศ. 2536)

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เป็นนักร้องที่มีโทนเสียงไพเราะ มีลูกคอก้องกังวาล เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นเพลงที่เป็นที่นิยมและรู้จักของแฟนเพลงมาจนถึงปัจจุบัน มักจะเป็นเพลงช้า เนื้อหาซึ้ง ๆ บรรยายถึงความรักหรือความเหงาเป็นต้น ตามรายชื่อดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้น และในส่วนของเพลงเร็ว ที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ หนุ่มน้อย, ยอดชาย, ทองดี ทองเค, นักแสวงหา, ม.ให้อะไร, อีกคนหนึ่ง, บันทึกคนถนน, แรงยังมี เป็นต้น

ปัจจุบัน ด้วยสภาพกระแสดนตรีในประเทศไทยเปลี่ยนไป ชื่อเสียงและผลงานของพงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เริ่มสร่างซาความนิยมและกล่าวถึงลง แต่พงษ์สิทธิ์ก็ยังได้ผลิตงานออกมาเป็นระยะ ๆ และผลงานเพลงในสมัยที่ยังโด่งดังสุดขีดก็ยังคงเป็นที่นิยมของกลุ่มแฟนเพลงเพื่อชีวิตอยู่เหมือนเดิม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2555 พงษ์สิทธิ์ ได้ออกงานอัลบั้มมีชื่อว่า “25 ปี (มีหวัง)” ตามการครบรอบ 25 ปี บนถนนสายดนตรีของ พงษ์สิทธิ์ เอง

คอนเสิร์ต

พงษ์สิทธิ์ได้เปิดการแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของตนเองขึ้นในปี พ.ศ. 2536 โดยใช้ชื่อว่า “ปิด-เปิดสัญญา” ณ ดาดฟ้าลานจอดรถ ห้างฟอร์จูน ทาวน์ รัชดา ตามด้วยคอนเสิร์ต 15 ปี คำภีร์ เต็มขั้น ไล่มาจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2549 พงษ์สิทธิ์ได้ออกอัลบั้ม “บันทึกคนบนถนน” และมีคอนเสิร์ต “19 เข้า 20 เสือออกลาย” ซึ่งเป็นการแสดงคอนเสิร์ตในโอกาสย่างเข้าสู่ทศวรรษที่สองในการทำงานดนตรีของตัวเอง โดยมี หงา คาราวาน, เล็ก คาราบาว, ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี และ ฝน ธนสุนทร เป็นแขกรับเชิญ และวันที่ 22 พฤศจิกายนพ.ศ. 2551 พงษ์สิทธิ์ได้เปิดการแสดงคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง โดยใช้ชื่อว่า “ฮักเสี่ยว” ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) โดยมี แอ๊ด คาราบาว,ปาล์มมี่ และ วงอพาร์ทเม้นท์คุณป้า ร่วมเป็นแขกรับเชิญ [1] และวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553 ได้แสดงคอนเสิร์ต “อยู่อย่างสิงห์” ณ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี โดยมี ชาตรี คงสุวรรณ มือกีตาร์ระดับเทพ ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว(ปั่น) สินเจริญบราเธอร์ส ณัฐฐาวีรนุช ทองมี และ ชุมพล เอกสมญา ลูกชายคนโตของ พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ร่วมเป็นแขกรับเชิญพิเศษ[2]

ในปี พ.ศ. 2555 เป็นการครบรอบ 25 ปี บนถนนสายดนตรี ของ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ และได้มีการทัวร์คอนเสิร์ตครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตการเป็นศิลปิน กับคอนเสิร์ตที่มีชื่อว่า “หัวใจเพื่อชีวิต 25 ปี พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ รักกัน…ตลอดเวลา” ที่พร้อมมอบความสุขแทนคำขอบคุณให้กับแฟนเพลงใน 7 จังหวัดทั่วประเทศ ในการแสดงคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายของทัวร์คอนเสิร์ต ณ ลานแอกทีฟสแควร์ เมืองทองธานี มีการชุมนุมและทำร้ายร่างกายของกลุ่มผู้มาร่วมคอนเสิร์ตจำนวนหนึ่ง จนต้องยุติการแสดงกลางคัน[ต้องการอ้างอิง]

ในด้านความเห็นทางการเมือง แม้พงษ์สิทธิ์จะเคยขึ้นเวทีให้กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2551 ก็ตาม แต่หลังจากนั้นเขาก็ไม่ได้ร่วมการชุมนุมของกลุ่มการเมืองใดอีก[3] ในอีกสองปีต่อมาพงษ์สิทธิ์ได้แต่งเพลง “นครลิง” ซึ่งมีเนื้อหาเสียดสีสถานการณ์การเมืองในขณะนั้น เพลงดังกล่าวได้รวมอยู่ในอัลบั้ม “25 ปี (มีหวัง)” ในปี พ.ศ. 2555 ปัจจุบันพงษ์สิทธิ์ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองใด

ที่มาของเพลง เดือนเพ็ญ

 

 moon10

เพลงเดือนเพ็ญ หรือ เพลงคิดถึงบ้าน เขียนเนื้อร้องและทำนองโดย อัศนี พลจันทร (หรือที่รู้จักกันในนามปากกาว่า นายผี หรือ สหายไฟ) ได้รับการยกย่องว่า หากนับเพลงนี้เป็นเพลงเพื่อชีวิต ก็สมควรจะเรียกได้ว่าเป็น สุดยอดเพลงเพื่อชีวิต ด้วยเป็นเพลงที่ถูกบันทึกเสียงและขับขานในวาระต่าง ๆ มากที่สุดเพลงหนึ่งในห้วงทศวรรษที่ผ่านมา และน้อยคนเหลือเกินที่ได้ฟังเพลงนี้แล้วจะรู้สึกเฉย ๆ กับความหมายที่กินใจที่เพลงสื่อออกมา เพลงคิดถึงบ้านนี้ ทำให้ชื่อ นายผี อัศนี พลจันทร เป็นที่รู้จักและจดจำในวงกว้าง

อัศนีแต่งเพลงนี้ขึ้น เพราะความรู้สึกคิดถึงบ้านของตัวเขาเอง ด้วยเหตุการณ์ทางสังคมในสมัยนั้น ทำให้เขาต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนไปเป็นเวลานาน. หงา คาราวาน เป็นคนนำเพลง “คิดถึงบ้าน” นี้ออกมาจากราวป่า และบันทึกเสียงครั้งแรกในนามวงคาราวาน กับอัลบั้มชุด “บ้านนาสะเทือน” เมื่อปี 2526. ต่อมาในปี 2528 แอ๊ด คาราบาว ได้นำมาบันทึกเสียงอีกครั้ง ในอัลบั้มชุด “กัมพูชา” และได้เปลี่ยนชื่อเพลงเป็น “เดือนเพ็ญ” พร้อมทั้งสลับท่อนเนื้อร้องจากเดิม. หลังจากนั้นมีผู้นำเพลงนี้ไปบันทึกเสียงอีกนับครั้งไม่ถ้วน ทั้งในอัลบั้มปกติ และการแสดงสด อาทิ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีคนด่านเกวียนอัสนี-วสันต์ โชติกุลพงษ์เทพ กระโดนชำนาญโฮปคีตาญชลีนรีกระจ่าง คันธมาศสายัณห์ สัญญาสุนารี ราชสีมายอดรัก สลักใจมนต์สิทธิ์ คำสร้อยโจ้ วงพอสโยชิกิ วงเอ็กซ์ เจแปน ฯลฯ

หงา คาราวาน บันทึกถึงที่มาของเพลงนี้ว่า

…ที่สนามรบก่อนเกิดศึกใหญ่ (หมายถึงยุทธการล้อมปราบในเขตน่านเหนือ) ผมได้พบญาติพี่น้องซึ่งเป็นสายทางเขา (นายผี) เพลง ‘คิดถึงบ้าน’ ถูกร้องให้ผมฟังโดยหมอตุ๋ย สหายหญิงผิวคล้ำคนภาคกลางแถบราชบุรีซึ่งเป็นญาติของเขา และบอกว่าเป็นเพลงที่นายผีแต่งขึ้น ตั้งแต่พลัดบ้านพลัดเมืองไปอยู่ที่กรุงปักกิ่ง เป็นเวลาเกือบ 30 ปีมาแล้ว

เพลงนี้ได้รับการบรรเลงและนำมาขับร้องซ้ำหลายครั้งโดยศิลปินทั้งชาวไทยและต่างประเทศ อาทิ ในคอนเสิร์ตของเอ็กซ์ เจแปน ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 โยชิกิ หัวหน้าวงได้นำเพลงนี้บรรเลงด้วยเปียโนในช่วงอังกอร์ เป็นต้น

เดือนเพ็ญแสงเย็นเห็นอร่าม นภาแจ่มนวลดูงาม เย็นยิ่งหนอยามเมื่อลมพัดมา
แสงจันทร์นวลชวนใจข้า คิดถึงถิ่นที่จากมา คิดถึงท้องนาบ้านเรือนที่เคยเนา

กองไฟสุมควายตามคอก คงยังไม่มอดดับดอก จันทร์เอยช่วยบอกให้ลมช่วยเป่า
โหมไฟให้แรงเข้า พัดไล่ความเยือกเย็นหนาว ให้พี่น้องเรานอนหลับอุ่นสบาย

เรไรร้องฟังดังว่า เสียงเจ้าที่เฝ้าคอยหา ลมเอ๋ยช่วยมากระซิบข้างกาย
ข้ายังคอยอยู่มิหน่าย มิเลือนเคลื่อนคลาย คิดถึงมิวายที่เราจากมา

ลมเอยจงเป็นสื่อให้ น้ำรักจากห้วงดวงใจ ของข้านี้ไปบอกเขานะนา
ให้คนไทยรู้ว่า ไม่นานลูกที่จากมา จะไปซบหน้าในอกแม่เอย.

(เนื้อร้องฉบับนี้ ได้รับการตรวจทานจาก ?ป้าลม? หรือ วิมล พลจันทร ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากของนายผี คัดจากหนังสือ ?รำลึกถึงนายผี จากป้าลม? จัดพิมพ์ในวาระอายุครบ 72 ปี)

อัศนี พลจันทร นักคิดนักเขียนนักปฏิวัติ ผู้ประพันธ์เพลง “คิดถึงบ้าน” หรือ “เดือนเพ็ญ” เจ้าของนามปากกา “นายผี”, “อินทรายุธ” ฯลฯ

“นายผี” เป็นนามปากกาของอัศนี พลจันทร กวีการเมือง และนักเขียนนักปฏิวัติคนสำคัญคนหนึ่ง (โปรดสังเกตว่า นามสกุลของท่านผู้นี้ เขียนว่า ?พลจันทร? ไม่ใช่ ?พลจันท์? อย่างที่หลายคนเข้าใจผิด (?อัศนี พลจันท์? เป็นเพียงนามปากกาหนึ่งในหลายสิบนามปากกาของท่านผู้นี้) บิดาของท่านสืบสายมาจากพระยาพล (จันทร) ผู้รั้งเมืองกาญจนบุรีต้นสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นต้นกำเนิดสกุล ?พลจันทร? และ ?พลกุล?

ในส่วนทำนองของเพลงนี้ ผู้รู้ทางดนตรีไทยให้ความเห็นไว้ว่า นายผี ใช้ทำนองเพลงไทยเดิมที่ชื่อ ?พม่าเห่? มาดัดแปลงเป็นแนวทำนองหลักของเพลง มิได้ประพันธ์ทำนองขึ้นมาใหม่ด้วยตนเอง เพราะเขามิได้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีมากมายนัก (ผิดกับ ?จิตร ภูมิศักดิ์? นักเขียนนักปฏิวัติร่วมสมัย ที่มีความสามารถทางดนตรีมากกว่า จิตรสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น และอ่านเขียนโน้ตเพลงทั้งไทยและสากลได้อย่างดี) อีกทั้งเพลงนี้ทั้งเพลง ก็มีเพียงแนวทำนองหลักเพียงท่อนเดียว ไม่มีท่อนแยกตามหลักของดนตรีสากลทั่วไปแต่อย่างใด

เพลง ?คิดถึงบ้าน? นี้ เท่าที่สืบค้นได้พบว่า เป็นการถ่ายทอดมาแบบปากต่อปาก (เพราะผู้ประพันธ์เขียนโน้ตดนตรีไม่เป็น) หรือที่โบราณเรียกว่า ?ต่อเพลง? โดยนายผี สอนให้คนใกล้ชิดร้อง เผอิญนักดนตรีอย่างสุรชัย จันทิมาธร (หงา คาราวาน) ได้ยินเข้า จึงจดจำมาร้องบ้าง และเมื่อเขา(สุรชัย) ออกจากป่ามา ก็นำออกเผยแพร่จนเป็นที่นิยมร้องกันทั่วไป มีนักร้องทั้งแนวเพื่อชีวิตและแนวอื่น ๆ หลายสิบคนนำไปร้อง

เมื่อมีการนำมาร้องต่อๆกันก็เลย เพี้ยนคำไปบ้าง เช่น แสงเย็นเห็นอร่าม  เป็น สวยเย็นเห็นอร่าม เย็นยิ่งหนอยามเมื่อลมพัดมา เป็น เย็นชื่นหนอยามเมื่อลมพัดมา ลมเอยจงเป็นสื่อให้ เป็น ลมเอยช่วยเป็นสื่อให้ ของข้านี้ไปบอกเขานะนา เป็น ของข้านี้ไปบอกเขาน้ำนา น้ำรักจากห้วงดวงใจ เป็น นำรักจากห้วงดวงใจ ให้คนไทยรู้ว่า เป็น ให้เมืองไทยรู้ว่า จะไปซบหน้าในอกแม่เอย เป็น จะไปซบหน้าแทบอกแม่เอย สังเกตคำว่า ?ลม? ที่ผู้ประพันธ์นำมาใช้ในท่อนนี้ มีความหมายเป็นสองนัย

นัยแรก หมายถึงลมที่พัดไหวทั่วไป นายผีแต่งเพลงนี้ขึ้นในเขตป่าเขา ครั้งที่หลบลี้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์อยู่ในป่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณภูซาง ทิ้งวิมล พลจันทร คู่ชีวิตของตนไว้ในเมือง มาภายหลังคุณวิมล พลจันทร จึงได้รับการติดต่อ และเดินทางเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกันในเขตป่าเขา

ประเพณีสำคัญประการหนึ่งของการปฏิวัติคือ การปิดลับชื่อและนามสกุลจริงของแต่ละคน อัศนีย์ พลจันทร จึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น ?สหายไฟ? หรือ ?ลุงไฟ? ส่วนภรรยาของท่านที่ตามเข้ามาสมทบภายหลัง ตั้งชื่อว่า ?สหายลม? หรือ ?ป้าลม?

คำว่า ?ลม? ในท่อนนี้ของเพลงจึงมีนัยที่สอง อันหมายถึงภรรยาที่รักของท่านนั่นเอง ?จันทร์เอยช่วยบอกให้ลมช่วยเป่า…? จึงน่าจะหมายถึงการฝากให้ดวงจันทร์บอกข่าวแก่คุณวิมล ภรรยาที่รักของตน บอกว่าอะไร.. ?สุมไฟให้แรงเข้า พัดไล่ความเยือกเย็นหนาว ให้พี่น้องเรานอนหลับอุ่นสบาย? บอกให้ ?ลม? ช่วยเร่งเร้าให้ไฟแห่งการปฏิวัติยิ่งลุกโชนยิ่งขึ้น เพื่อเร่งให้การปฏิวัติสำเร็จ ที่จะทำให้ประชาชนมีความผาสุก กินอิ่ม และนอนอุ่นสบายนั่นเอง

คำว่า ?น้ำรัก? ในสมัยนี้ ถูกนำมาใช้ในความหมายในเชิงกามารมณ์เสียจนผิดไปจากความหมายดั้งเดิม คำว่า ?น้ำรัก? ในความหมายเก่า มีความหมายบริสุทธิ์ลึกซึ้งประมาณเดียวกับคำว่า ?น้ำใจ? ?น้ำคำ? คำว่า นะนา เป็นคำพูดของคนทางภาคอีสานใช้??

พอนักร้องรุ่นหลังเอาเพลงมาร้อง ถึงท่อนนี้อาจเกรงว่าคนฟังจะไม่รู้เรื่องก็เลยถือโอกาสแก้คำนี้เสีย เป็น ?นำรักจากห้วงดวงใจ ของข้านี้ไปบอกเขาน้ำนา..?

วรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน

 

A9546255-1

ณ เมืองสุพรรณบุรี กล่าวถึงครอบครัวสามครอบครัว คือ ครอบครัวของขุนไกรพลพ่าย รับราชการทหาร มีภรรยาชื่อ  นางทองประศรี มีลูกชายด้วยกันชื่อพลายแก้ว ครอบครัวของขุนศรีวิชัย เศรษฐีใหญ่ของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก ภรรยาชื่อนางเทพทอง มีลูกชายชื่อขุนช้่าง ซึ่งหัวล้านมาแต่กำหนิด และครอบครัวของพันศร โยธาเป็นพ่อค้า ภรรยาชื่อ ศรีประจัน มีลูกสาวรูปร่างหน้าตางดงามชื่อ พิมพิลาไลย

วันหนึ่งสมเด็จพระพันวษา มีความประสงค์จะล่าควายป่า จึงสั่งให้ขุนไกรปลูกพลับพลาและต้อนควายเตรียมไว้ แต่ควายป่าเหล่านั้ันแตกตื่นไม่ยอมเข้าคอก  ขุนไกรจึงใช้หอกแทงควายตายไปมากมาย ที่รอชีวิตก็หนีเข้าป่าไป สมเด็จพระพันวษาโกรธมากสั่งให้ประหารชีวิตขุนไกรเสีย  นางทองประศรีรู้ข่าวรีบพาพลายแก้วหนีไปอยู่เมืองกาญจนบุรี

ทางเมืองสุพรรณบุรี มีพวกโจรจันศรขึ้นปล้นบ้านของขุนศรีวิชัยและฆ่าขุนศรีวิชัยตาย ส่วนพันศร โยธาเดินทางไปค้าขายต่างเมือง พอกลับมาถึงบ้านก็เป็นไข้ป่าตาย

เมื่อพลายแก้วอายุได้ 15 ปี  ก็บวชเณรเรียนวิชาอยู่ที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียนต่อที่วัดป่าเลไลย ต่อมาที่วัดป่าเลไลยจัดให้มีเทศน์มหาชาติ เณรพลายแก้วเทศน์กัณฑ์มัทรี ซึ่งนางพิมพิลาไลยเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ นางพิมพิลาไลยเลื่อมใสมากจนเปลื้องผ้าสไบบูชากัณฑ์เทศ์ ขุนช้างเห็นเช่นนั้นก็เปลื้องผ้าห่มของตนวางเคียงกับผ้าสไบของนางพิมพิลาไลย อธิฐานขอให้ได้นางเป็นภรรยา ทำให้นางพิมพิลาไลยโกรธมาก ต่อมาเณรพลพลายแก้วก็สึก แล้วให้นางทองประศรีมาสู่ขอนางพิมพิลาไลยและแต่งงานกัน

ทางกรุงศรีอยุธยาได้ข่าวว่ากองทัพเชียงใหม่ตีได้เมืองเชียงทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษาจึงถามหาเชื้อสายของขุนไกร ขุนช้างซึ่งเข้าไปรับราชการอยู่จึงเล่าเรื่องราวความเก่งกล้าสามารถของพลายแก้ว  เพื่อหวังจะพรากพลายแก้วไปให้ไกลนางพิมพิลาไลย สมเด็จพระพันวษาจึงให้ไปตามตัวมา แล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพไปรบกับเมืองเชียงใหม่และได้รับชัยชนะ  นายบ้านแสนคำแมนแห่งหมู่บ้านจอมทอง เห็นว่าพลายแก้วกับพวกทหารไม่ได้เบียดเบียนให้ชาวบ้านเดือดร้อน จึงยกนางลาวทองลูกสางของตนให้เป็นภรรยาของพลายแก้ว

ส่วนนางพิมพิลาไลยเมื่อสามีไปทัพได้ไม่นานก็ป่วยหนักรักษาเท่าไรก็ไม่หาย ขรัวตาจูวัดป่าเลไลยแนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง อาการไข้จึงหาย ขุนช้างทำอุบายนำหม้อใส่กระดูกไปให้นางศรีประจันกับนางวันทองดูว่าพลายแก้วตายแล้ว และขู่ว่านางวันทองจะต้องถูกคุมตัวไว้เป็นม่ายหลวงตามกฏหมาย นางวันทองไม่เชื่อ แต่นางศรีประจันคิดว่าจริง ประกอบกับเห็นว่าขุนช้างเป็นเศรษฐีจึงบังคับให้นางวันทองแต่งงานกับขุนช้าง นางวันทองจำต้องตามใจแม่ แต่นางไม่ยอมเข้าหอ ขณะนั้นพลายแก้วกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาและได้บรรดาศักดิ์เป็นขุนแผนแสนสะท้าน จากนั้นก็พานางลาวทองกลับสุพรรณบุรี นางวันทองเห็นขุนแผนพาภรรยาใหม่มาด้วยก็โกรธด่าทอโต้ตอบกับนางลาวทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองก็ตกเป็นภรรยาของขุนช้างอย่างจำใจ

ต่อมาขุนช้างและขุนแผนเข้าไปรับการอบรมในวังและได้เป็นมหาดเล็กเวรทั้ง 2 คน วันหนึ่งนางทองประศรีให้คนมาส่งข่าวว่านางลาวทองป่วยหนัก ขุนแผนจึงฝากเวรไว้กับขุนช้างแล้วไปดูอาการของนางลาวทอง ตอนเช้าสมเด็จพระพันวษาถามถึงขุนแผนขุนช้างบอกว่าขุนแผนปีนกำแพงวังหนีไปหาภรรยา  สมเด็จพระพันวษาโกรธตรัสให้ขุนแผนตระเวนด่านที่กาญจนบุรี  ห้ามเข้าเฝ้าและริบนางลาวทองเข้าเป็นม่ายหลวง

ขุนแผนได้ทราบเรื่องก็โกรธขุนช้าง คิดจะแก้แค้นแต่ยังมีกำลังไม่พอ จึงออกตระเวนป่าไปโดยลำพัง คิดจะหาอาวุธ ม้า และ กุมารทอง สำหรับป้องกันตัว ได้ตระเวนไปจนถึงถิ่นของหมื่นหาญนักเลงใหญ่ ได้เข้าสมัครเข้าไปอยู่ด้วย เพราะหวังจะได้บัวคลี่ลูกสาวของหมื่นหาญ ได้ทำตัวนอบน้อมและตั้งใจทำงานเป็นอย่างดีจนเป็นที่รักใคร่ของหมื่นหาญถึงกับออกปากยกลูกสาวให้แต่งงานด้วย พอได้แต่งงานกับบัวคลี่แล้ว ขุนแผนก็ไม่ยอมทำงานร่วมกับหมื่นหาญ ทำให้หมื่นหาญโกรธคิดฆ่าขุนแผน เพราะขุนแผนอยู่ยงคงกระพันจึงให้บัวคลี่ใส่ยาพิษลงในอาหารให้ขุนแผนกิน แต่ผีพรายมาบอกให้รู้ตัว ขุนแผนจึงทำอุบายเป็นไข้ไม่ยอมกินอาหารแล้วออกปากขอลูกจากบัวคลี่ นางไม่รู้ความหมายก็ออกปากยกลูกให้ขุนแผน พอกลางคืนขณะที่บัวคลี่นอนหลับขุนแผนก็ผ่าท้องนางแล้วนำลูกไปทำพิธีตอนเช้าหมื่นหาญและภรรยารู้ว่าลูกสาวถูกผ่าท้องตายก็ติดตามขุนแผนไป แต่ก็สู้ขุนแผนไม่ได้ ขุนแผนเสกกุมารทองสำเร็จ จึงออกเดินทางต่อไป แล้วไปหาช่างตีดาบ หาเหล็ก และเครื่องใช้ต่าง ๆเตรียมไว้ตั้งพิธีตีดาบจนสำเร็จ ดาบนี้ให้ชื่อว่า ดาบฟ้าฟื้น ใช้เป็นอาวุธต่อไป

หลังจากนั้นเดินทางไปหาม้า ได้ไปพบคณะจัดซื้อม้าหลวง ได้เห็นลูกม้าลูกม้าตัวหนึ่งมีลักษณะถูกต้องตามตำราก็ชอบใจ ได้ออกปากซื้อ เจ้าหน้าที่ก็ขายให้ในราคาถูก  ขุนแผนจึงเสกหญ้าให้ม้ากิน และนำมาฝึกจนเป็นม้าแสนรู้ให้ชื่อว่า ม้าสีหมอก

เมื่อได้กุมารทอง ดาบฟ้าฟื้นและม้าสีหมอกครบตามความตั้งใจแล้วก็เดินทางกลับบ้าน คิดจะไปแก้แค้นขุนช้าง นางทองประศรีมารดาห้ามปรามก็ไม่ฟัง ได้เดินทางออกจากกาญจนบุรีไปยังสุพรรณบุรีขึ้นเรือนขุนช้าง ได้นางแก้วกิริยาลูกสาวพระยาสุโขทัยที่นำมาเป็นตัวจำนำไว้ในบ้านขุนช้างเป็นภรรยา แล้วพาวันทองหนีออกจากบ้าน ขุนช้างตื่นได้ออกติดตามแต่ตามไม่ทัน ได้ไปทูลฟ้องสมเด็จพระพันวษาให้กองทัพออกติดตามขุนแผน ขุนแผนไม่ยอมกลับได้ต่อสู้กับกองทัพทำให้ขุนเพชร ขุนรามถึงแก่ความตาย กองทัพต้องถอยกลับกรุง ขุนแผนจึงกลายเป็นกบฏ ต้องเที่ยวเร่ร่อนอยู่ในป่า จนนางวันทองตั้งท้องแก่ใกล้คลอด ขุนแผนสงสารกลัวนางจะเป็นอันตรายจึงยอมเข้ามอบตัวกับพระพิจิตร พระพิจิตรได้ส่งตัวเข้าสู้คดีในกรุง ขุนแผนชนะคดีและได้นางวันทองคืน ขุนแผนมีความคิดถึงลาวทอง ได้ขอให้จมื่นศรีช่วยขอให้ ขุนแผนถูกกริ้ว และถูกจำคุก แก้วกิริยาจึงตามไปปรนนิบัติในคุก

วันหนึ่งขณะที่นางวันทองมาเยี่ยมขุนแผน ขุนช้างได้มาฉุดนางวันทองไปจนนางวันทองคลอดลูกให้ชื่อว่า พลายงาม เมื่อขุนช้างรู้ว่าไม่ใช่ลูกของตัวเองจึงหลอกพลายงามไปฆ่าในป่า แต่ผีพรายของขุนแผนช่วยไว้ นางวันทองบอกความจริงและได้ให้พลายงามเดินทางไปอยู่กับย่าทองประศรีที่กาญจนบุรี พลายงามอยู่กับย่าจนโต ได้บวชเป็นเณรและเล่าเรียนวิชาความรู้เก่งกล้าทั้งเวทมนตร์ คาถา และการสงคราม เมื่อมีโอกาสขุนแผนได้ให้จมื่นศรีนำพลายงามเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก

เมื่อมีศึกเชียงใหม่ พลายงามได้อาสาออกรบและทูลขอประทานอภัยโทษให้พ่อเพื่อไปรบ ขุนแผนและนางลาวทองจึงพ้นโทษ ขณะที่เดินทางไปทำสงครามนั้นผ่านเมืองพิจิตร ขุนแผนจึงแวะเยี่ยมพระพิจิตร เมื่อพลายงามได้พบนางศรีมาลาลูกสาวพระพิจิตรก็หลงรัก จึงได้ลอบเข้าหานาง ขุนแผนจึงทำการหมั้นหมายไว้ เมื่อชนะศึก พระเจ้าเชียงใหม่ได้ส่งสร้อยทอง และสร้อยฟ้ามาถวาย พระพันวษาได้แต่งตั้งขุนแผนเป็นพระสุรินทรลือไชยมไหสูรย์ภักดี ไปรั้งเมืองกาญจนบุรี และได้แต่งตั้งพลายงามเป็น จมื่นไวยวรนาถ และประทานสร้อยฟ้าให้แก่พลายงาม  จากนั้นก็ทรงจัดงานแต่งงานให้กับพลายงาม

ขณะที่ทำพิธีแต่งงานขุนช้างได้วิวาทกับพลายงาม ขุนช้างได้ทูลฟ้อง จึงโปรดให้มีการชำระความโดนการดำน้ำพิสูจน์ ขุนช้างแพ้ความ พระพันวษาโปรดให้ประหารชีวิต แต่พระไวยขอชีวิตไว้ ต่อมาพระไวยมีความคิดถึงแม่จึงไปรับนางวันทองมาอยู่ด้วย ขุนช้างติดตามไป แต่พระไวยไม่ยอมให้ขุนช้างจึงถวายฎีกา พระพันวษาจึงตรัสให้นางวันทองเลือกว่าจะอยู่กับใคร นางมีความลังเล เลือกไม่ได้ว่าจะอยู่กับใคร พระพันวษาทรงโกรธจึงรับสั่งให้ประหารชีวิต แม้พระไวยจะขออภัยโทษได้แล้ว แต่ด้วยเคราะห์ของนางวันทอง ทำให้เพชรฆาตเข้าใจผิดจึงประหารนางเสียก่อน

เมื่อจัดงานศพนางวันทองแล้ว ขุนแผนได้เลื่อนเป็นพระกาญจนบุรี นางสร้อยฟ้าได้ให้เถรขวาดทำเสน่ห์ให้พระไวยหลงใหลนางและเกลียดชังนางศรีมาลา พระกาญจนบุรีมาเตือน พระไวยโกรธลำเลิกบุญคุณกับพ่อ ทำให้พระกาญจนบุรีโกรธ คบคิดกับพลายชุมพลลูกชายซึ่งเกิดจากนางแก้วกิริยาปลอมเป็นมอญยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา หวังจะให้พระไวยออกต่อสู้ จะได้แก้แค้นได้สำเร็จ พระไวยรู้ตัวเพราะผีเปรตนางวันทองมาบอก พระพันวษาทรงทราบเรื่องโปรดให้มีการไต่สวน พลายชุมพลพิสูจน์ได้ว่า นางสร้อยฟ้ากับเถรขวาดได้ทำเสน่ห์จริงแต่นางสร้อยฟ้าไม่รับ จึงมีการพิสูจน์โดยการลุยไฟ สร้อยฟ้าแพ้ พระพันวษาสั่งให้ประหาร แต่นางศรีมาลาทูลขอไว้ นางสร้อยฟ้าจึงถูกเนรเทศกลับไปเชียงใหม่ และคลอดลูกชื่อ พลายยง

ต่อมานางศรีมาลาก็คลอดลูกชาย ขุนแผนจึงตั้งชื่อให้ว่า พลายเพชร   เถรขวาดมีความแค้นพลายชุมพล จึงปลอมเป็นจระเข้ไล่กัดกินคนมาจากทางเหนือหวังจะแก้แค้นพลายชุมพล พระพันวษาโปรดให้พลายชุมพลไปปราบ จระเข้เถรขวาดสู้ไม่ได้ถูกจับตัวมาถวายพระพันวษา และถูกประหารในที่สุด พลายชุมพลได้รับแต่งตั้งเป็นหลวงนายฤทธิ์ เหตุการณ์ร้ายแรงผ่านไป ทุกคนก็อยู่อย่างมีความสุข

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

๑. ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี เราจึงควรมีความกตัญญูต่อบิดามารดาผู้ที่ให้ กำเนิดเรามา

๒. การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญสมัยก่อนเด็กผู้ชายจะเรียนหนังสือที่วัด

๓. วัดเป็นสถานที่ผูกพันกับชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน

๔. ในสมัยก่อนจะมีการมัดจุกโกนจุกและนุ่งโจงกระเบนผูกขวัญรับขวัญ

๕. ผู้ชายมีการถวายตัวเข้ารับราชการ

๖. สมัยก่อนจะใช้สมุนไพรรักษาแผล และมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์

๗. สมัยก่อนเดินทางโดยเท้า และการขี่ม้า

๘. พ่อแม่ทุกคนรักลูกและ ยอมเสียสละทุกอย่างเพื่อลูกได้

การปฏิวัตสยาม 2475

1A

การเตรียมการเปลี่ยนแปลง

คณะราษฎรได้มีการประชุมเตรียมการหลายครั้ง รวมถึงได้มีการล้มเลิกแผนการบางแผนการ เช่น การเข้ายึดอำนาจในวันพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาซึ่งตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน แต่เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จนกระทั่งสุดท้ายได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการในเช้าวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่วังไกลกังวล ทำให้เหลือข้าราชการเพียงไม่กี่คนอยู่ในกรุงเทพ

ในการวางแผนดังกล่าวกระทำที่บ้าน ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผนควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร โดยมีการเลื่อนวันเข้าดำเนินการหลายครั้งเพื่อความพร้อม

หลังจากนั้นยังได้มีการประชุมกำหนดแผนการเพิ่มเติมอีกที่บ้านพระยาทรงสุรเดช โดยมีการวางแผนว่าในวันที่ 24 มิถุนายนจะดำเนินการอย่างไร และมีการแบ่งงานให้แต่ละกลุ่ม แบ่งออกเป็น 4 หน่วยด้วยกัน คือ

  • หน่วยที่ 1 ทำหน้าที่ทำลายการสื่อสารและการคมนาคมที่สำคัญ เช่น โทรศัพท์ โทรเลข ดำเนินการโดยทั้งฝ่ายทหารบกและพลเรือน ทหารบกจะทำการตัดสายโทรศัพท์ของทหาร ส่วนโทรศัพท์กลางที่วัดเลียบมี นายควง อภัยวงศ์ นายประจวบ บุนนาค นายวิลาศ โอสถานนท์ ดำเนินการ โดยมีทหารเรือทำหน้าที่อารักขา ส่วนสายโทรศัพท์และสายโทรเลขตามทางรถไฟและกรมไปรษณีย์เป็นหน้าที่ของ หลวงสุนทรเทพหัสดิน หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นต้น ซึ่งหน่วยนี้ยังรับผิดชอบคอยกันมิให้รถไฟจากต่างจังหวัดแล่นเข้ามาด้วย โดยเริ่มงานตั้งแต่เวลา 06.00 น.
  • หน่วยที่ 2 เป็นหน่วยเฝ้าคุม โดยมากเป็นฝ่ายพลเรือนผสมกับทหาร ทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายและบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต จากวังสวนผักกาดมายังพระที่นั่งอนันตสมาคม พระประยุทธอริยั่น จากกรมทหารบางซื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการวางแผนให้เตรียมรถยนต์สำหรับลากปืนใหญ่มาตั้งเตรียมพร้อมไว้ โดยทำทีท่าเป็นตรวจตรารถยนต์อีกด้วย โดยหน่วยนี้ดำเนินงานโดย นายทวี บุณยเกตุ นายจรูญ สืบแสง นายตั้ว ลพานุกรม หลวงอำนวยสงคราม เป็นต้น โดยฝ่ายนี้เริ่มงานตั้งแต่เวลา 01.00 น.
  • หน่วยที่ 3 เป็นหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนย้ายกำลัง ซึ่งทำหน้าที่ประสานทั้งฝ่ายทหารบกและทหารเรือ เช่น ทหารเรือจะติดไฟเรือรบ และเรือยามฝั่ง ออกเตรียมปฏิบัติการณ์ตามลำน้ำได้ทันที
  • หน่วยที่ 4 เป็นฝ่ายที่เรียกกันว่า “มันสมอง” มี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ร่างคำแถลงการณ์ ร่างรัฐธรรมนูญ และหลักกฎหมายปกครองประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการเจรจากับต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจภายหลังการปฏิบัติการสำเร็จแล้ว

แม้ว่าทางคณะราษฎรจะพยายามที่ทำลายหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ยังมีข่าวเล็ดรอดไปยังทางตำรวจ ซึ่งได้ออกหมายจับกลุ่มผู้ก่อการ 4 คน คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี และ นายตั้ว ลพานุกรม อย่างไรก็ตามเมื่อนำเข้าแจ้งแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ถูกระงับเรื่องไว้ก่อน เนื่องจากไม่ทรงเห็นว่าน่าจะเป็นอันตราย และให้ทำการสืบสวนให้ชัดเจนก่อน

การยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป

หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์สังคม

อาจกล่าวได้ว่า “กบฏ ร.ศ. 130″ เป็นแรงขับดันให้คณะราษฎร ก่อการปฏิบัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยภายหลังการยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับ ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า “ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม” และหลวงประดิษมนูธรรมก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า “พวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ ร.ศ. 130″ …

ประวัติเพลง เพื่อชีวิต

ดาวน์โหลด

เพื่อชีวิต (Songs for Life) มีแนวเพลงแม่แบบมาจากเพลงดังต่อไปนี้ เพลงอคูสติก, เพลงบัลลาด, บลูส์-ร็อก, ดนตรีคันทรี, เพลงลูกทุ่ง, ฮาร์ดร็อก, ไซเคเดลิกร็อก, เพลงเร้กเก้, เพลงพื้นบ้านไทย ซึ่งแหล่งกำเนิดแนวเพลงเพื่อชีวิตนี้ เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยราวๆปี พ.ศ. 2515 จนถึง พ.ศ. 2520 โดยใช้เครื่องดนตรีดังนี้ กีต้าร์อคูสติก, กีตาร์เบส, กีตาร์ไฟฟ้า, คีย์บอร์ด, ฮาร์โมนิก้า, เพอร์คัชชัน, ไวโอลิน, กลองชุด, เปียโน, เครื่องดนตรีไทย, เครื่องดนตรีพื้นเมือง
ทั้งนี้แต่แรกเริ่มเดิมที่ เพลงเพื่อชีวิต หมายถึง เพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึงชีวิตของคน โดยเฉพาะคนชนชั้นล่าง กล่าวถึงความยากลำบากในการใช้ชีวิต การถูกเอารัดเอาเปรียบ เพลงในแนวเพื่อชีวิตในยุคนี้โดยมากจะเป็นเพลงลูกทุ่ง เช่น เพลง จักรยานคนจน ของยอดรัก สลักใจ, น้ำมันแพง ของสรวง สันติ, น้ำตาอีสาน แต่งโดยชลธี ธารทองและขับร้องโดยสายัณห์ สัญญา เป็นต้น

เพลงเพื่อชีวิต ในประเทศไทยเริ่มเฟื่องฟูเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางโดยแพร่หลายช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเนื้อหาของเพลงไม่จำกัดเฉพาะชีวิตของคนชั้นล่างอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการเรียกร้องประชาธิปไตยและการเหน็บแนมการเมืองอีกด้วย และแนวดนตรีได้เปิดกว้างขึ้นเป็นแนวอคูสสติกหรือร็อก โดยได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากศิลปินต่างประเทศ เช่น บ๊อบ ดีแลน, บ็อบ มาร์เลย์ , นีล ยัง เป็นต้น วงดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาราวาน, แฮมเมอร์, โคมฉาย เป็นต้น
โดยความนิยมในเพลงเพื่อชีวิตไม่ได้เป็นเพียงกระแสในห้วงเวลานั้น หากแต่ยังได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวงดนตรีและนักร้องเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น คาราบาว, พงษ์สิทธิ์ คำภีร์, พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, อินโดจีน, คนด่านเกวียน, มาลีฮวนน่า, โฮป, ซูซู, ตีฆอลาซู เป็นต้น อีกทั้งยังมีศิลปินบางคน หรือบางกลุ่มที่ไม่ได้เป็นเพื่อชีวิตอย่างเต็มตัว แต่เนื้อหาของเพลงหลายเพลง มีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกับเพื่อชีวิตหรือจัดให้ อยู่ประเภทเพื่อชีวิตได้ เช่น จรัล มโนเพ็ชร, เสกสรร ทองวัฒนา, ธนพล อินทฤทธิ์, หนู มิเตอร์, นิค นิรนาม, พลพล พลกองเส็ง, กะท้อน, ศุ บุญเลี้ยง, สิบล้อ เป็นต้น